ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว ประเทศไทยถือเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เนื่องจากประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม น่าสนใจ และดึงดูด

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์ได้แก่ วัดวา อาราม เมืองเก่า พิพิธภัณฑ์ และอุทยานต่างๆ รวมถึงมาตราการส่งเสริมเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวจากรัฐบาล ในการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยวในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 5 ที่สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากที่สุด

ซึ่งรายได้จากการท่องเที่ยวมีมูลค่ามหาศาล และเติบโตมากขึ้นทุกปี ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบการเป็นจำนวนมากมีความสนใจที่จะประกอบธุรกิจทางด้านนำเที่ยว การประกอบกิจการทางด้านนำเที่ยวนั้น กฎหมายกำหนดไว้ว่าผู้ประกอบการต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากกรมการท่องเที่ยวเสียก่อน เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครองจากการซื้อรายการนำเที่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ซึ่งถ้าผู้ประกอบกิจการธุรกิจนำเที่ยวใด ฝ่าฝืนประกอบธุรกิจโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องได้รับโทษตามกฎหมาย ทั้งนี้การประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่มีใบอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และ/หรือ ปรับไม่เกิน 500,000 บาท

การประกอบธุรกิจที่ถือว่าเป็นการประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. 2551 คือการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอย่างอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งทั้งนี้ ปัจจุบัน ยังไม่มีกฎกระทรวงเฉพาะสำหรับเรื่องนี้

การยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในนามบุคคลธรรม หรือนิติบุคคลก็ได้

💚 โดยบริษัทกรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด ให้บริการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 
ลูกค้าสามารถคลิกเพื่อดูข้อมูลการขอใบอนุญาต แต่ละจังหวัดที่ต้องการ ได้ดังนี้

คุณสมบัติการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนําเที่ยว

กรณีบุคคลธรรมดา

  1. มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย 
  3. ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
  4. ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ 
  5. ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

กรณีนิติบุคคล

  1. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการด้านการนำเที่ยว โดยถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดต้องมีสัญชาติไทย กรณีเป็นบริษัทจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ต้องเป็นของบุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องมีสัญชาติไทย
  2. มีสำนักงานอยู่ในราชอาณาจักรไทย
  3. กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้
    3.1 มีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
    3.2 มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
    3.3 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
    3.4 ต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
    3.5 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ และไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือใบอนุญาตมัคคุเทศก์ แต่ถ้าเคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตต้องถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันภัยสำหรับอุบัติเหตุ ให้แก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศน์ และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว  โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

ประเภทการวางเงินประกัน

โดยกฎกระทรวง ออก ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ดังนี้ผู้ประกอบการนำเที่ยว ต้องมีการจดทะเบียนและวางเงินประกันกับสำนักทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ โดยแยกเป็น 4 ประเภทดังนี้

  1. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกัน จำนวน 3,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้เฉพาะในจังหวัดที่จดทะเบียนและจังหวัดข้างเคียงที่ระบุไว้ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ (Domestic) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 15,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ  โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ แต่ไม่สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  3. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากต่างประเทศ (Inbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 30,000 บาท โดยการนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวภายในประเทศไทย สามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ทุกจังหวัด โดยไม่ได้รับอนุญาตให้นำเที่ยวไปยังต่างประเทศ โดยสามารถให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและชาวต่างชาติ และสามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้
  4. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างประเทศ (Outbound) ต้องวางเงินเพื่อเป็นหลักประกันจำนวน 60,000 บาท โดยสามารถประกอบธุรกิจท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ  ให้บริการได้ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ สามารถขายนำเที่ยวออนไลน์ได้

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาต

  1. ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
  2. ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีอายุ 2 ปี โดยผู้ประกอบการต้องชำระค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 2,000 บาท ทั้งแบบบุคคลธรรมดาและแบบบริษัท ค่าธรรมเนียมรักษาสถานภาพใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว 1,000 บาท ทุกๆ 2 ปี
  3. ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องยื่นเอกสารหลักฐานการเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงรายการประกอบธุรกิจนำเที่ยวต่างๆ เช่นเปลี่ยนชื่อบุคคลหรือนิติบุคคล เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน เปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ เพิ่มหรือยกเลิกสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานสาขา เปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทน

การเริ่มต้นประกอบธุรกิจนำเที่ยว

  1. จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากท่านต้องการประกอบธุรกิจในรูปนิติบุคคลต้องเริ่มจากจดทะเบียนบริษัท หรือ บริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยจะต้องระบุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทว่า ให้บริการการนำเที่ยว และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ไม่เช่นนั้น จะไม่สามารถนำธุรกิจไปจดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้
  2. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในปัจจุบันการประกอบธุรกิจมักมีการเปิดเว็บไซต์ หรือการทำสื่อบนอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ เพื่อเป็นการโปรโมทโพสต์ธุรกิจของตน ดังนั้นหากผู้ประกอบการมีการจำหน่ายโปรแกรมท่องเที่ยวผ่านทางสื่ออินเตอร์เน็ต เช่น มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง จะต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติม
  3. การทำกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจทำประกันอุบัติเหตุในระหว่างนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวของตน โดยสามารถติดต่อทำกรมธรรม์ดังกล่าวได้กับบริษัทรับทำประกันภัยได้โดยมีเงื่อนไขกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้านบาทต่อคน และกรณีบาดเจ็บไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาทต่อคน และต้องมีอายุกรมธรรม์ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
  4. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว เมื่อดำเนินการจดทะเบียนบริษัทโดยระบุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการนำเที่ยวแล้ว จดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (กรณีมีเว็บไซต์) และทำกรรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยวและไกด์นำเที่ยวเรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการต้องยื่นขอใขอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวกับกรมการท่องเที่ยว

ถ้าท่านสนใจในการประกอบธุรกิจนำเที่ยว และต้องการขอใบอนุญาตนำเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ติดต่อเรา กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง เรามีผู้ชำนาญในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ช่วยเหลือคุณในการขอใบอนุญาตให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฏหมาย


สนใจบริการ รับขอใบอนุญาตนำเที่ยว ปรึกษาเราได้ฟรี!

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend