รับจดทะเบียนการค้า (ทะเบียนพาณิชย์)

รับจดทะเบียนการค้า (ทะเบียนพาณิชย์) สำหรับผู้ที่ประกอบธุรกิจค้าขายและมีหน้าร้านตามที่กฎหมายกำหนด ทะเบียนการค้าเป็นตัวการันตีเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจเมื่อผู้ประกอบการต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน

จดทะเบียนพาณิชย์ VS จดทะเบียนการค้า แตกต่างกันอย่างไร

การจดทะเบียนพาณิชย์และจดทะเบียนการค้าเป็นการจดทะเบียนประเภทเดียวกัน บางท่านใช้คำว่าจดทะเบียนร้านค้า หรือจดทะเบียนการค้า แต่ภาษาทางราชการจะใช้คำว่า”จดทะเบียนพาณิชย์”

ผู้ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. บุคคลธรรมดา (ผู้ประกอบการคนเดียว)
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (มีสถานะเป็นบุคคลธรรมดา)
3. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต่างกันที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ทุกคนรับผิดชอบในส่วนของหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดจะมีบุคคลที่จำกัดความรับผิดและมีบุคคลที่ไม่จำกัดความรับผิดในหนี้สินทั้งหมด)
4. บริษัทจำกัด และบริษัทที่เป็นมหาชนจำกัด
5. บริษัทต่างชาติที่เข้ามาเปิด หรือขยายสาขาในประเทศไทย

กิจการที่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ มีดังนี้

ถ้าบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ และบริษัทต่างชาติเปิดสาขาในไทย ประกอบกิจการดังนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1. ธุรกิจโรงสีข้าว และโรงงานที่ใช้เครื่องจักรในการเลื่อย
2. ธุรกิจขายสินค้าที่มีรายได้วันละ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าไว้ขาย 500 บาทขึ้นไป
3. นายหน้าขายสินค้า
4. ธุรกิจหัตถกรรม หรืออุตสาหกรรม
5. ธุรกิจขนส่งสินค้า ได้แก่ เรือ รถไฟ รถยนต์ ธุรกิจซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืมเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ซื้อขายตั๋วเงิน ธนาคาร โรงรับจำนำ และธุรกิจโรงแรม
6. ขาย เช่า ผลิต หรือรับผลิต CD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการบันเทิง
7. ขายอัญมณี เครื่องประดับ ที่ตกแต่งด้วยอัญมณี
8. ซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์
9. ธุรกิจให้บริการอินเทอร์เน็ต
10. ธุรกิจเช่าพื้นที่เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
11. เป็นสื่อกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางออนไลน์
12. ธุรกิจบริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
13. ธุรกิจให้บริการฟังเพลง ร้องเพลงคาราโอเกะ
14. ธุรกิจเครื่องเล่นเกมส์
15. ธุรกิจบริการตู้เพลง
16. โรงงานแปรสภาพจากงาช้าง และขายปลีก ขายส่งงาช้างและสินค้าที่ทำจากงาช้าง

บทความน่าสนใจ ขายของออนไลน์ หรือ ร้านค้าออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง

ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัท ประกอบกิจการดังนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ขาย เช่า ผลิต หรือรับผลิต CD DVD หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะการบันเทิง
2. ขายเครื่องประดับที่มีส่วนประกอบจากอัญมณี
3. ซื้อขายสินค้า บริการผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต
4. บริการอินเทอร์เน็ต
5. ให้เช่าพื้นที่คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

กิจการที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

1. ค้าเร่ หรือ ค้าขายแบบแผงลอย
2. พาณิชยกิจเพื่อบำรุงศาสนา หรือ เพื่อการกุศล
3. นิติบุคคลที่ได้รับพระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชบัญญัติ จัดตั้งนิติบุคคลขึ้น
4. พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
5. มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์ต่างๆ
6. เกษตรกรที่ได้จดทะเบียน ปว.141

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. กิจการมีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากการจดทะเบียนพาณิชย์ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่ากิจการมีอยู่จริง มีตัวตนและมีสถานที่ตั้งของกิจการที่แน่นอน ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการสั่งซื้อสินค้าว่าผู้บริโภคจะได้รับสินค้าเป็นไปตามที่สั่งซื้อกับผู้ประกอบการมากกว่าร้านค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนพาณิชย์
2. กิจการเป็นที่รู้จักมากขึ้น หากเป็นร้านค้าออนไลน์และจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำรายชื่อเว็บไซต์ของผู้ประกอบการไปไว้ในฐานข้อมูล แยกตามประเภทธุรกิจ ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th/edirectory จะเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต ทำให้บุคคลทั่วไปค้นพบข้อมูลร้านค้าของผู้ประกอบการ
3. มีเอกสารประกอบการพิจารณาในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงิน ถ้าผู้ประกอบการไม่ได้ทำธุรกิจในรูปนิติบุคคล โดยทำธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาและไม่ได้เป็นพนักงานมีเงินเดือนประจำ เอกสารการจดทะเบียนพาณิชย์จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ทางสถาบันการเงินใช้ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงินเพื่อมาใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ การกู้เงินเพื่อนำมาขยายกิจการ หรือแม้แต่การกู้เงินเพื่อซื้อบ้านและรถยนต์
4. มีสิทธิในการขอใช้เครื่องหมายรับรองของ DBD ในกรณีผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้มีการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว ผู้ประกอบการมีสิทธิในการขอใช้เครื่องหมาย DBD Registered เพื่อนำไปติดตั้งบนหน้าเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อแสดงความมีตัวตนตามกฎหมาย ส่งผลในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น และยังสามารถยื่นขอเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ซึ่งจะมีความน่าเชื่อถือสูงกว่าเครื่องหมาย DBD Registered (ซึ่งเว็บไซต์ต้องมีคุณภาพและเป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ขั้นตอนการจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ตรวจสอบว่ากิจการอยู่ในเงื่อนไขที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์หรือไม่
2. จัดทำแบบฟอร์มสำหรับยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
3. แนบเอกสารประกอบที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์
4. ยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์พร้อมทั้งเอกสารประกอบ

สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1 ในกรณีกรุงเทพมหานคร ยื่นจดได้ที่ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต ที่สำนักงานใหญ่ของร้านค้าผู้ประกอบการตั้งอยู่
2 ในกรณีต่างจังหวัด ยื่นจดได้ที่ เทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่สำนักงานใหญ่ของร้านค้าผู้ประกอบการตั้งอยู่

เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

กรณีจัดตั้งใหม่
1. กรณีบุคคลธรรมดา
– กรอกแบบคำขอ ทพ.
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบกิจการ
– เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ตั้งกิจการ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้ง สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ตั้ง สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน
– หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ในกรณีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าเช่า หรือสัญญาเช่าในกรณีเป็นการเช่า (ในกรณีเช่านั้น สัญญาเช่าต้อง
ติดอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด)
– แผนที่แสดงสถานที่ของสถานประกอบการ และสถานที่ใก้ลเคียงโดยสังเขป
– รูปถ่ายสถานที่ประกอบการด้านในและด้านนอกในกรณีจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ เฟซบุ๊ก/เว็บไซต์/อินสตราแกรม ในกรณีขายสินค้า
ออนไลน์และต้องการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
– หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน)
2. กรณีนิติบุคคล
– กรอกแบบคำขอ ทพ.
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
– สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการนิติบุคคล
– เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ตั้งนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้ง สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ตั้ง สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน
– หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ในกรณีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าเช่า หรือสัญญาเช่าในกรณีเป็นการเช่า (ในกรณีเช่านั้น สัญญาเช่าต้องติดอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด)
– แผนที่แสดงสถานที่ของสถานที่ตั้งนิติบุคคล และสถานที่ใก้ลเคียงโดยสังเขป
– รูปถ่ายสถานที่ประกอบการด้านในและด้านนอกในกรณีจดทะเบียนพาณิชย์ หรือ เฟซบุ๊ก/เว็บไซต์/อินสตราแกรม ในกรณีขายสินค้า
ออนไลน์และต้องการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
– หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน)

กรณีจดเปลี่ยนแปลงทะเบียนพาณิชย์ (จดเปลี่ยนแปลงทะเบียนการค้า)

กรณีจดเปลี่ยนแปลงทะเบียนพาณิชย์ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การประกอบกิจการ (เลิก บางส่วน หรือเพิ่มใหม่) การเปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ การเปลี่ยนผู้จัดการ เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่ การย้ายที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือเพิ่มสาขา การเพิ่มหรือลดเงินทุน การแก้ไขชื่อเว็บไซต์
2.1 กรณีเปลี่ยนแปลง ชื่อ-สกุล
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1.
– สำเนาเอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อ – สกุล
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
2.2 กรณีเปลี่ยนแปลงชื่อร้าน
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1. และ ข้อ 2.
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
2.3 กรณีเปลี่ยนแปลงชนิดการประกอบกิจการ (วัตถุประสงค์)
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1. และ ข้อ 3.
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
2.4 กรณีเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1. ข้อ 4.
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
2.5 กรณีเปลี่ยนชื่อผู้จัดการ
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1. และข้อ 6.
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)
2.6 กรณีเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานใหญ่
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1. ข้อ 5. หรือ 10. แล้วแต่กรณี
– สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขา แล้วแต่กรณี
– สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของสถานที่
– เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ สถานที่ตั้งกิจการ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ตั้ง สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ตั้ง สัญญาซื้อขาย โฉนดที่ดิน
– หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ในกรณีให้ใช้สถานที่โดยไม่คิดค่าเช่า หรือสัญญาเช่าในกรณีเป็นการเช่า (ในกรณีเช่านั้น สัญญาเช่าต้องติดอากรแสตมป์ตามที่กฎหมายกำหนด)
– แผนที่แสดงสถานที่ของสถานประกอบการ และสถานที่ใก้ลเคียงโดยสังเขป
– หนังสือมอบอำนาจ (ในกรณีมอบอำนาจ)

กรณียกเลิกทะเบียนพาณิชย์ (ยกเลิกทะเบียนการค้า)

กรณีผู้ประกอบการเลิกกิจการและต้องการยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
– กรอกแบบคำขอ ทพ. ข้อ 1,2,5 และลงลายมือชื่อพร้อมยื่นเอกสารที่ต้องใช้ในการจดยกเลิกทะเบียนพาณิชย์
– ใบสำคัญทะเบียนพาณิชย์ (ตัวจริง)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านผู้ประกอบกิจการ
– หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 10 บาท (ในกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทน)

ขอบเขตระยะเวลาในการจดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ผู้ที่ประกอบกิจการที่เข้าข่ายต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องดำเนินการจดทะเบียนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการ
2. ในกรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียนพาณิชย์ ต้องดำเนินการจดทะเบียนภายใน 30 วัน
3. กรณีเลิกประกอบกิจการ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการ
การประกอบกิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ การเปลี่ยนแปลงรายการ และการเลิกประกอบกิจการโดยไม่จดทะเบียน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
4. ในกรณีที่ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหาย ต้องดำเนินการยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่สูญหาย
ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ดำเนินการยื่นคำร้องขอใบรับแทน มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

หน้าที่ของผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์ (จดทะเบียนการค้า)

1. ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน
2. ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบการไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) โดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อตัวหนังสือเป็นอักษรภาษาไทย อ่านง่ายและชัดเจน โดยจะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ในป้ายด้วย
กรณีถ้าไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์และจัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง
3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป
มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

คำถาม-คำตอบเกี่ยวกับจดทะเบียนพาณิชย์ (รับจดทะเบียนการค้า)

การรับจ้างทำอัญมณีรวมถึงการรับจ้างทำของทุกชนิด กฎหมายยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

การให้เช่าพระเครื่องสามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้ โดยระบุวัตถุประสงค์เป็นการจำหน่ายพระเครื่อง แต่การจำหน่ายพระเครื่องหรือประกอบธุรกิจค้าของเก่าต้องได้รับใบอนุญาตจากกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย โดยจะแนบใบอนุญาตค้าของเก่าหรือไม่ก็ได้

การให้เช่าอาคารเป็นที่พักอาศัย หรือเป็นโกดังเก็บสินค้าถือเป็นการเช่าทรัพย์สิน กฎหมายมิได้กำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

การให้เช่าอพารท์เม้นเป็นรายวัน รายเดือน ถ้าไม่ได้มีสภาพเป็นโรงแรม กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

งานบริการและงานรับจ้างทำของกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

การรับจองตั๋วเครื่องบินและการเป็นตัวแทนขายกรมธรรม์ประกันชีวิต ถือเป็นธุรกิจบริการ ไม่ถือเป็นธุรกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

กฎหมายกำหนดให้การจำหน่ายสินค้ที่มีราคาตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยไม่ได้พิจารณาถึงแหล่งที่มาของสินค้านั้น

กฎหมายกำหนดให้การประกอบธุรกิจรับจำนำ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนั้นการรับจำนำอื่นๆ ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

การรับเหมาก่อสร้างเป็นงานรับจ้างทำของ กฏหมายยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แต่ถ้าผู้ประกอบการขายวัสดุก่อสร้างด้วย ก็ให้จดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะการขายวัสดุก่อสร้างได้ จะจดทะเบียนในลักษณะเป็นพาณิชยกิจพ่วง คือขายวัสดุก่อสร้างและรับเหมาก่อสร้างไม่ได้

ไม่ได้เนื่องจากไม่เข้าลักษณะการเป็นผู้ประกอบพาณิชยกิจ (การค้าปกติ)

หาบเร่ แผงลอย ไม่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ 2499 ตามมาตรา 7 จึงไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

ถือเป็นหลักแหล่งถาวรต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ต้องระบุสถานที่ในการจดทะเบียนให้ชัดเจน

การระบุชนิดแห่งพาณิชยกิจของนิติบุคคลจะต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่จดทะเบียนนิติบุคคล แต่ในกรณีวิธีการขาย เช่นการขายเครื่องสำอางผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
การขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเป็นวิธีการขาย ถ้าวัตถุประสงค์นิติบุคคลไม่ได้ระบุว่าประกอบกิจการค้าเครื่องสำอาง โดยไม่ได้ระบุวิธีว่าขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
ก็สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ได้

ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้ประกอบพาณิชยกิจมีสถานที่แตกต่างกัน สามารถดำเนินการได้ดังนี้

  1. จดทะเบียนเลิกทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา
  2. จดทะเบียนจัดตั้งผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล

จะต้องมีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม

กฎหมายกำหนดว่าให้ใช้ชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจเป็นรายการจดทะเบียนที่บังคับที่ต้องแจ้งไว้ในรายการจดทะเบียน กรณีไม่มีชื่อหรือไม่ได้ตั้งชื่อ ให้ใช้ชื่อของผู้ประกอบพาณิชยกิจได้

ได้ ไม่มีกฎหมายห้าม

ได้ โดยให้ยื่นจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อพาณิชยกิจ

จะระบุคำว่า ห้าง หรือห้างหุ้นส่วน หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ไว้หน้าชื่อก็ได้ หรือไม่ระบุก็ได้

แนวทางปฏิบัติให้ผู้ประกอบกิจการจัดแบ่งพื้นที่ของแต่ละร้านให้เป็นสัดส่วนชัดเจนและปิดป้ายในแต่ละส่วนที่เป็นร้านค้า ก็สามารถขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้

ได้โดยยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง สำนักงานใหญ ณ เทศบาลหรือ อบต. ที่สำนักงานแห่งใหม่ของร้านค้านั้นตั้งอยู่

สามารถดำเนินการขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการได้เลย โดยไม่ต้องเลิกประกอบพาณิชยกิจเดิม

ใบทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้มีกำหนดระยะเวลาหมดอายุ สามารถใช้ได้จนกว่าผู้ประกอบพาณิชยกิจจะเลิกประกอบกิจการ

หากไม่ยื่นจดทะเบียนเลิกภายใน 30 วัน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับต่อเนื่องอีกไม่เกินวันละ 100 บาท

ไม่จำกัด

เหตุผลที่บริษัทรับจดทะเบียนการค้า (รับจดทะเบียนพาณิชย์)

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอลซัลติ้ง จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานรับจดทะเบียนพาณิชย์ ประสบการณ์มากกว่า 28 ปี เรามีความพร้อม ความรวดเร็ว และความแม่นยำในการรับจดทะเบียนจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ลูกค้าต่างไว้วางใจเมื่อมาใช้บริการของเรา


สนใจบริการรับจดทะเบียนการค้า ปรึกษาเราได้ฟรี!

ติดต่อบริการรับจดทะเบียนการค้า : บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com

Add Friend

ข้อมูลอื่นที่น่าสนใจ

จดทะเบียนบริษัท
รับจดทะเบียนบริษัท
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน