ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “เรื่องสำคัญที่ควรรู้”

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา “เรื่องสำคัญที่ควรรู้” แป๊บๆ เดียวสิ้นปีอีกแล้ว สำหรับผู้มีเงินได้ที่เข้าเกณฑ์ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก็ควรดำเนินการได้เลยนะครับ และในบทความนี้จะให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่คนธรรมดาทั่วไปควรศึกษาหาข้อมูล นะครับ+++

มาทำความเข้าใจกันต่อ

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องและจัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามกฎหมายกำหนด **(บุคคลธรรมดา ก็คือ คนที่มีชีวิตอยู่ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย)

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาคือใคร..?

  • บุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
  • ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
  • กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
  • วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

……………………………………………………………………

เงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี?

สำหรับเงินได้ที่ต้องเสียภาษีนั้น เรียกว่า “เงินได้พึงประเมิน” หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีภาษี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ) ได้แก่ 1. เงิน 2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคำนวณได้เป็นเงิน 3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน 4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้ 5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ประเภทของเงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภทด้วยกัน คือ…

40(1) เงินได้จากการจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน เบี้ยเลี้ยง โบนัส เป็นต้น

40(2) เงินได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า เป็นต้น

40(3) ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น

40(4) ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ฯลฯ

40(5) การให้เช่าทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นๆ ที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น จากการให้เช่าบ้าน เป็นต้น

40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น ทนายความ การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอิสระอื่นๆ

40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ เช่น รับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น

40(8) เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

มีเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำเท่าไหร่..? ถึงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

(1) บุคคลธรรมดาและผู้ถึงแก่ความตาย มีเงินได้พึงประเมิน

เงินเดือนเพียงอย่างเดียว โสด 120,000 สมรส 220,000

เงินได้ประเภทอื่น โสด 60,000 สมรส 120,000

(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล เกิน 60,000 บาท

(3) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเกิน 60,000 บาท

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว… ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง..?

  1. 1. ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น (กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง) ผู้มีเงินได้ที่มีเลขประจำตัวประชาชน ใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
  2. 2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไปเว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปีสำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี

ใช้แบบอะไรยื่นแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา..?

สำหรับผู้มีเงินได้ หลายประเภท 40(1)-40(8) ใช้แบบ ภ.ง.ด. 90

สำหรับผู้มีเงินได้ 40(1) ประเภทเดียว ใช้แบบ ภ.ง.ด. 91

#ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก “กรมสรรพากร” หัวข้อเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หัวข้อเรื่อง  ประมวลรัษฎากร >บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร >หมวด 3 ภาษีเงินได้ >มาตรา