ออดิทคืออะไร มีหน้าที่ตรวจอะไรบ้าง ?

ผู้หญิงกำลังดำเนินการออดิทบัญชีขององค์กร

การตรวจสอบบัญชีหรือออดิทถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจในยุคปัจจุบัน เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ช่วยรับรองความถูกต้องของข้อมูลทางการเงิน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น นักลงทุน หรือหน่วยงานกำกับดูแล จึงกล่าวได้ว่าการออดิทคือกระบวนการสำคัญที่ทุกองค์กรไม่ควรมองข้าม

ออดิทคืออะไร ?

ออดิท (Audit) หรือ การตรวจสอบบัญชี คือกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชีและงบการเงินขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีการดำเนินงานที่โปร่งใส ตรงตามมาตรฐานบัญชีและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญต่อทุกองค์กร ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ก็ตาม

ความสำคัญของการออดิท

  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับงบการเงินขององค์กร
  • ลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดและการทุจริต
  • ช่วยให้องค์กรมีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
  • เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ลงทุน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย

คุณสมบัติของ Auditor หรือผู้ตรวจสอบบัญชี

ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีจะถูกเรียกว่า Auditor หรือผู้ตรวจสอบบัญชี ซึ่งจะต้องเป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญด้านบัญชีและการตรวจสอบทางการเงิน โดยทั่วไป Auditor จะต้องมีคุณสมบัติด้านความรู้ทางบัญชีที่ลึกซึ้ง ดังนี้

  • มีความรู้และประสบการณ์ด้านบัญชีสูง รวมทั้งต้องเข้าใจหลักการบัญชีมาตรฐานสากลและข้อกำหนดทางภาษีอย่างรอบด้าน
  • มีความเป็นกลางและซื่อสัตย์ เพื่อให้สามารถดำเนินการตรวจสอบด้วยความเป็นอิสระ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
  • มีทักษะวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตรวจสอบข้อมูลทางการเงินได้อย่างละเอียดรอบคอบมากที่สุด
  • มีความละเอียดและรอบคอบ เพื่อลดความผิดพลาดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระบบบัญชี
หน้าที่ของออดิทในการตรวจสอบบัญชีขององค์กร

หน้าที่ของออดิทในฝ่ายบัญชี

สำหรับผู้ที่สงสัยว่าการออดิทต้องตรวจอะไรบ้าง หรือ Auditor มีหน้าที่ทำอะไรบ้าง คำตอบคือกระบวนการนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่กระบวนการตรวจสอบเอกสารทางบัญชี แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้องค์กรบริหารงานทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหน้าที่หลัก ดังนี้

1. การตรวจสอบความถูกต้องของรายการทางบัญชี

มีเป้าหมายเพื่อให้แน่ใจว่ารายการบัญชีและงบการเงินขององค์กรเป็นไปตามมาตรฐานบัญชีที่กำหนด โดย Auditor จะทำการตรวจสอบเอกสารและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินอย่างละเอียด เพื่อค้นหาความผิดพลาดหรือความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการทำบัญชี

2. การประเมินระบบควบคุมภายใน

ระบบควบคุมภายในมีบทบาทสำคัญในการป้องกันความผิดพลาดและลดความเสี่ยงจากการทุจริต จึงต้องได้รับการประเมินว่าระบบที่มีอยู่มีประสิทธิภาพเพียงพอหรือไม่ มีจุดอ่อนและช่องโหว่ที่อาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินไหม เพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม

3. การจัดทำรายงานการตรวจสอบ

เมื่อออดิทบัญชีเสร็จ Auditor จะต้องจัดทำ Audit Report เพื่อสรุปผลการตรวจสอบ พร้อมระบุข้อบกพร่องหรือความผิดปกติที่พบ รวมถึงแนวทางแก้ไขที่แนะนำ แล้วนำเสนอให้กับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้มีความโปร่งใสและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

4. การให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงระบบบัญชี

นอกจากการตรวจสอบแล้ว กระบวนการออดิทยังรวมถึงการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบบัญชีขององค์กร โดยเสนอแนวทางที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ลดข้อผิดพลาด และแนะนำการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจัดการระบบบัญชีเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. การติดตามแก้ไขข้อบกพร่อง

หลังรายงานผลการตรวจสอบแล้ว Auditor ต้องติดตามว่าข้อบกพร่องที่พบได้รับการแก้ไขหรือไม่ รวมถึงการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามแนวทางที่แนะนำไหม เพื่อให้มั่นใจว่าปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบและองค์กรปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว

ประเภทของออดิทที่ควรรู้จัก

การตรวจสอบบัญชีสามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และลักษณะขององค์กร โดยประเภทของออดิทที่สำคัญ ได้แก่

1. การตรวจสอบบัญชีภายนอก (External Audit)

เป็นการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชีอิสระ เพื่อให้ความเห็นว่า งบการเงินถูกต้องและเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี ซึ่งการตรวจสอบบัญชีประเภทนี้มักจะเกิดขึ้นกับธุรกิจที่ต้องเปิดเผยข้อมูลแก่ผู้ลงทุนและหน่วยงานกำกับดูแล

2. การตรวจสอบบัญชีภายใน (Internal Audit)

เป็นการตรวจสอบที่ดำเนินการโดยทีมงานภายในองค์กร เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพทางบัญชี การเงิน และการบริหารความเสี่ยง ซึ่งการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดปัญหาทางการเงินและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร

3. ผู้ตรวจสอบของรัฐบาล (Government Audit)

ออดิทประเภทนี้ คือการตรวจสอบโดยหน่วยงานรัฐ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรหรือหน่วยงานราชการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ มักใช้ในหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐ

4. ผู้ตรวจสอบบัญชีนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic Audit)

เป็นการตรวจสอบเชิงลึกเพื่อสืบสวนคดีทุจริตทางการเงิน โดยเน้นการวิเคราะห์เอกสารบัญชีเพื่อค้นหาการปลอมแปลง การฟอกเงิน หรือการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งมักใช้ในกระบวนการสอบสวนและคดีความ

หากคุณกำลังมองหาบริษัทรับตรวจสอบบัญชีที่มีมาตรฐาน รวดเร็ว และเชื่อถือได้ ทีมผู้เชี่ยวชาญของ Greenpro KSP Group พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลงานตรวจสอบบัญชีของคุณอย่างครบวงจร ด้วยประสบการณ์กว่า 28 ปีในการให้บริการดูแลบัญชีขององค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เรามั่นใจว่าจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของธุรกิจคุณได้อย่างตรงจุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่

โทร: 094-864-9799
LINE ID: @greenproksp
E-mail: info.th@greenproksp.com

ข้อมูลอ้างอิง

  1. ตำแหน่ง ออดิท (audit) คืออะไร? มีหน้าที่อะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://www.jobfinfin.com/blog/audit
  2. ออดิทคืออะไร มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://blog.cpdacademy.co/what-is-auditor-and-different-types-of-auditor/