รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม/รับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (จด VAT)
ก่อนที่จะกล่าวถึงรายละเอียดการรับจด VAT หรือ รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม/รับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กรีนโปรขออธิบายถึงความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ที่เรียกว่า VAT (Value Added Tax)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) คือภาษีทางอ้อมที่ผู้จำหน่ายสินค้าหรือผู้ให้บริการต้องเรียกเก็บจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าหรือบริการ โดยผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วนั้นไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลได้แก่ บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือแม้กระทั่งผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดา เมื่อมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วได้มีการขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำการบวกเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากราคาขายสินค้าหรือราคาค่าบริการในอัตรา 7% จากราคาสินค้าหรือค่าบริการปกติ เช่น สินค้าหรือค่าบริการราคาปกติ 1,000 บาท ผู้ประกอบการต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม
อัตรา 7% ของราคาสินค้าหรือค่าบริการ 1,000 บาท ดังนั้นผู้ประกอบการหรือร้านค้าต้องขายสินค้าในราคา 1,070 บาท ซึ่งทางผู้ประกอบการจะได้รับเงินในการขายสินค้าหรือค่าบริการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นยอดเงิน 1,070 บาท โดยยอดเงินจำนวน 1,000 บาทนั้น จะเป็นค่าสินค้าหรือบริการที่ผู้ประกอบการได้รับ โดยส่วนต่างจำนวน 70 บาท นั้นเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ที่ผู้ประกอบการต้องนำส่งให้กับกรมสรรพากร
หมายเหตุ อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ปัจจุบันอยู่ที่ 7%
ผู้มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม/จดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ผู้ประกอบการขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงผู้นำเข้าสินค้า ไม่ว่าผู้ประกอบการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี กฎหมายบังคับให้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่ม (VAT) ทันที การนับว่ารายได้ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีสำหรับกรณีนิติบุคคลให้นับตามรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคลนั้นไม่ตรงกับปีปฎิทิน ส่วนในกรณีบุคคลธรรมดาให้ถือตามปีปฎิทิน ทั้งนี้ถ้ารายได้ในปีนั้นไม่ถึงเกณฑ์ (1.8 ล้านบาท) ก็ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในปีนั้น และให้เริ่มนับรายได้ในปีต่อไปใหม่ว่าถึงเกณฑ์หรือไม่ (ในกรณีที่ผู้ประกอบการบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ที่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่คู่ค้าหรือลูกค้าถึงแม้รายได้ยังไม่เกิน 1.8 ล้านบาทก็สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสรรพากรได้)
- ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ธุรกิจที่ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT (ได้รับการยกเว้น)
- ธุรกิจขายข้าว ผัก และผลไม้ ขายภายในประเทศไทย
- ธุรกิจขายสัตว์ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา หมู ไก่ เป็นต้น
- ธุรกิจขายปุ๋ย
- ธุรกิจขายอาหารสัตว์
- ธุรกิจขายยา เคมีภัณฑ์ที่ใช้กับพืชและสัตว์
- ธุรกิจขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือเรียน
- ธุรกิจนำเข้าสินค้าที่อยู่ในข้อ 1 ถึง 6
- สถานศึกษา
- ธุรกิจขนส่งในประเทศไทย
- โรงพยาบาล
- ห้องสมุด สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์
- ธุรกิจจัดแข่งกีฬาสมัครเล่น
- ทนายความให้การว่าความ ตรวจสอบบัญชี แพทย์หรือหมอ
- ดารานักแสดง
- ให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
- ธุรกิจให้เช่าบ้าน คอนโด และที่ดิน
- ธุรกิจที่นำกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับศาสนาหรือสาธารณะกุศล
บทกำหนดโทษของการไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ตามข้อกำหนดของกฎหมาย
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีต้องดำเนินการยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถ้าผู้ประกอบการไม่ดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภายในระยะเวลาดังกล่าว กฎหมายกำหนดโทษไว้ดังต่อไปนี้
- ผู้ประกอบการระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือนหรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
- ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของยอดขายสินค้าและบริการที่เกิน 1.8 ล้านบาทให้แก่สรรพากรจนกว่าจะดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT (ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการมีรายได้ 2 ล้านบาท เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของรายได้ 200,000 บาท ที่เกิน 1.8 ล้านบาท ให้แก่สรรพกร (200,000 x 7% = 14,000 บาท)
- ผู้ประกอบการต้องเสียเบี้ยปรับเป็นจำนวน 2 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ต้องชำระในเดือนภาษีตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเป็นเงิน 1,000 บาท ต่อเดือนภาษีทั้งนี้แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า
- ผู้ประกอบการต้องเสียเงินเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของภาษีที่ต้องชำระ
- ผู้ประกอบการจะไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเก็บไว้จากการซื้อสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการรายอื่นที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
มาหักเป็นภาษีขายของกิจการได้
เอกสารเบื้องต้นในการรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภพ.01 และ ภพ 01.1
- สำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งสถานประกอบการ
- เอกสารแสดงกรรมสิทธิ ของเจ้าของสถานที่ตั้งสถานประกอบการ ได้แก่ สำเนาทะเบียนบ้าน โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขายหรือคำขอเลขที่บ้าน
- สำเนาสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมใช้สถานที่แล้วแต่กรณี
- รูปถ่ายสถานประกอบการด้านในและด้านนอก
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจของนิติบุคคลผู้ยื่นคำขอในกรณีเป็นนิติบุคคล หรือของบุคคลผู้ยื่นคำขอ
ในกรณีเป็นบุคคลธรรมดา - สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือใบทะเบียนพาณิชย์ แล้วแต่กรณี
หน้าที่ของผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
1. ผู้ประกอบการต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ซื้อสินค้าและบริการของตน โดยต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและบริการ ไว้เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. ผู้ประกอบการต้องมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม (รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย รายงานสินค้าและวัตถุดิบ)
3. ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (ภ.พ. 30) เพื่อดำเนินการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มแก่สรรพากร
วิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
กรณีภาษีขาย >ภาษีซื้อ = ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระ
กรณีภาษีขาย < ภาษีซื้อ = ภาษีที่มีสิทธิขอคืน หรือขอเครดิตภาษีคืน
รับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม/รับจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (รับจด VAT)
บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด ให้บริการรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้แก่ผู้ประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็นการรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (รับจดทะเบียน VAT) ผ่านช่องทางออนไลน์ หรือ ดำเนินการจัดเตรียมเอกสารชุดจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำเอกสารชุดจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ดังกล่าวไปยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากรในเขตพื้นที่หรืออำเภอที่สถานประกอบการที่ต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นตั้งอยู่ กรีนโปรให้บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยราคาที่สมเหตุผล เราให้บริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยทีมงานมืออาชีพมีประสบการณ์สูง นอกจากนี้เรายังมีเจ้าหน้าที่ที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
สนใจบริการรับจดทะเบียนบริษัท
ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799, 084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com