รับขอใบอนุญาตร้านสปา ร้านนวด
ปัจจุบันมีผู้สนใจต้องการเปิดร้านสปา หรือร้านนวดกันเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งนี้มีผู้ประกอบหลายๆ ท่านยังไม่ทราบว่าขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตในการประกอบกิจการร้านสปา หรือขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านนวด หรือแม้ว่าผู้ประกอบการบางท่านอาจทราบถึงขั้นตอนการขออนุญาตแต่ท่านผู้ประกอบการอาจไม่มีเวลาไปดำเนินการขออนุญาตด้วยตนเอง ทางกรีนโปร เคเอสพี มีบริการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านสปา และขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านนวดให้แก่ท่านผู้ประกอบการที่สนใจดำเนินธุรกิจร้านสปา หรือร้านนวด เพื่อท่านผู้ประกอบการจะได้นำเวลา อันมีค่าของท่านไปบริหารจัดการในด้านอื่นๆของธุรกิจร้านสปาและร้านนวดที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่หรือดำเนินการอยู่
การประกอบกิจการร้านสปา หรือประกอบกิจการร้านนวด ไม่ว่าจะเป็นนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงามจะถือว่าเป็นกิจการที่เข้าข่ายเป็นสถานประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ ตาม “พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ” ที่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจต้องดำเนินการขอใบอนุญาตก่อนเปิดดำเนินกิจการ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.กิจการสปา ได้แก่ บริการที่เกี่ยวกับการดูแลและเสริมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบําบัดด้วยน้ำ และการนวดร่างกาย
เป็นหลัก ประกอบกับบริการอื่นอีกอย่างน้อยสามอย่างดังต่อไปนี้เป็นบริการอื่นในกิจการสปา
(1) การขัดผิวกาย
(2) การขัดผิวหน้า
(3) การใช้ผ้าห่มร้อน
(4) การทําความสะอาดผิวกาย
(5) การทําความสะอาดผิวหน้า
(6) การทําสมาธิ
(7) การนวดหน้า
(8) การบริการอาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
(9) การบํารุงผิวกาย
(10) การบํารุงผิวหน้า
(11) การประคบด้วยความเย็น
(12) การประคบด้วยหินร้อน
(13) การปรับสภาพผิวหน้า
(14) การแปรงผิว
(15) การพอกผิวกาย
(16) การพอกผิวหน้า
(17) การพันตัว
(18) การพันร้อน
(19) การอบซาวน่า
(20) การอบไอน้ำ
(21) การอาบด้วยทรายร้อน
(22) ชิบอล
(23) ไทเก็ก
(24) ไทชิ
(25) พิลาทิส
(26) ฟิตบอล
(27) โยคะ
(28) ฤาษีดัดตน
(29) แอโรบิก
การขอใบอนุญาตร้านสปานั้นจะต้องเป็นธุรกิจบริการที่ดูแลสุขภาพของลูกค้าโดยวิธีการบำบัดด้วยน้ำ หรือ นวดร่างกายเป็นหลักและประกอบกับบริการอย่างอื่นอีก 3 อย่างดังกล่าว ซึ่งสปาจะแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
- Destination Spa สปาที่ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ มีห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวกกับลูกค้า อย่างเช่น โปรแกรมดูแลสุขภาพจิตทำสมาธิ ช่วยคลายความเครียด เป็นต้น
- Hotel Spa ให้บริการสปาที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการห้องพักของที่พักนั้นๆ
- Day Spa สถานที่ให้บริการสปาที่รวดเร็ว ร้านส่วนใหญ่เปิดให้บริการบริเวณตัวเมือง บริการประเภทนวดเสริมความงาม น้ำมันหอมระเหยเพื่อผ่อนคลายความเครียด
- Medical Spa สปาที่มีการบำบัดควบคู่กับทางการแพทย์ สถานบริการสปาประเภทนี้จะตั้งอยู่ในสถานพยาบาล
- Mineral Spring Spa สปาที่มีลักษณะเป็นบ่อน้ำพุ หรือ บ่อน้ำร้อนแช่เพื่อสุขภาพ บ่อน้ำพุกับบ่อน้ำร้อนจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
- Club Spa สถานบริการด้านสปาที่มีเครื่องออกกำลังกายหรือกิจกรรมออกกำลังกายให้บริการกับลูกค้าด้วย
- Cruise Ship Spa สปาที่ตั้งอยู่บนเรือ และมีกิจกรรมให้ออกกำลังกาย พร้อมกับอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ใช้บริการจะได้ความรู้สึกผ่อนคลายในการเดินทาง
2.กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม
การขอใบอนุญาตร้านนวด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การนวดเพื่อสุขภาพ กับ การนวดเพื่อเสริมความงาม ซึ่งการนวดเพื่อสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้าที่มาใช้บริการรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ โดยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การนวดแผนไทย การบีบจับ กดคลึง แต่ร้านนวดประเภทนี้ต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำให้บริการกับลูกค้า ส่วนการนวดเพื่อเสริมความงามนั้นจะตั้งอยู่ในร้านเสริมสวย ร้านแต่งผม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความงาม และต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำ
การขอใบอนุญาตประกอบกิจการร้านสปา หรือขอใบอนุญาตร้านนวด
ข้อกำหนดเบื้องต้นในการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านสปา หรือร้านนวด
1. ผู้ขอรับใบอนุญาตจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้
2. ผู้ขอรับใบอนุญาต หรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล (ในกรณีนิติบุคคล) ในการประกอบกิจการร้านสปา หรือ
ร้านนวด ซึ่งถือว่าเป็นสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
2.1 ต้องมีอายุ ไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
2.2 ต้องไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
2.3 ต้องไม่เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
2.4 ต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศตามประมวล กฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือ ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี
2.5 ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
2.6 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
2.7 ต้องไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และยังไม่พ้นกําหนดสองปี นับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
3. ในกรณีเป็นกิจการสปา ต้องมีผู้ดำเนินการที่มีใบอนุญาต โดยคุณสมบัติผู้ดำเนินการมีดังนี้
3.1 มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
3.2 ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรด้านการบริการเพื่อสุขภาพที่ได้รับการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
3.3 ผ่านการทดสอบและประเมินความรู้ความสามารถจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
3.4 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม เป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
3.5 ต้องไม่เป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือความผิด เกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
3.6 ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ
3.7 ต้องไม่เป็นผู้เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการและยังไม่พ้นกําหนดหนึ่งปีนับถึงวันยื่นคําขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ดําเนินการ
4. มีผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนต่อผู้อนุญาตคือ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยคุณสมบัติของผู้ให้บริการมีดังนี้
4.1 มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
4.2 ได้รับวุฒิบัตรหรือประกาศนียบัตรด้านการบริการเพื่อสุขภาพที่ได้รับการรับรองจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
4.3 ต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม คือเป็นบุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถและเป็นผู้เคยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทําผิดในความผิดเกี่ยวกับเพศ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีเว้นแต่ได้พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนวันยื่นคําขอขึ้นทะเบียน
4.4 ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่ออันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติดให้โทษ
5. สถานประกอบการเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดครบถ้วนทุกประการได้แก่
5.1 ชื่อสถานประกอบการ
5.1.1 ชื่อสถานประกอบการต้องเป็นอักษรภาษาไทยหากมีชื่อภาษาอังกฤษต้องเล็กกว่า
5.1.2 ระบุประเภทกิจการที่ขออนุญาตไว้ในป้ายเดียวกัน
5.1.3 ต้องไม่มีลักษณะโอ้อวดเกินความจริงหรือทำให้เข้าใจว่าบำบัดรักษา
5.1.3 ไม่สื่อความหมายลามกอนาจาร อ้างอิงพระมหากษัตริย์
5.1.4 ในจังหวัดเดียวกันชื่อต้องไม่ซ้ำกันยกเว้นเป็นผู้ประกอบการเดียวกัน
5.1.5 ป้ายชื่อต้องติดไว้หน้าอาคารหรือตัวอาคารที่มองเห็นได้ชัดเจน
5.2 ลักษณะทั่วไปของสถานประกอบการ
5.2.1 ถ้ามีกิจการอื่นอยู่ในอาคารเดียวกันต้องแบ่งเขตพื้นที่ให้ชัดเจนและจะต้องไม่ใช่สถานบริการที่เป็นสถานอาบน้ำหรือนวดตัว
5.2.2 ถ้ามีบริการหลายประเภท ต้องแบ่งแยก สัดส่วนชัดเจนและเป็นไปตามมาตรฐานของการให้บริการนั้นๆ
5.2.3 ต้องไม่มีช่องทางที่ผู้ให้บริการหรือผู้รับบริการไปมาหาสู่กับสถานบริการ
5.2.4 ถ้ามีการใช้น้ำในการให้บริการพื้นผิว ต้องทําด้วยวัสดุกันลื่น
5.2.5 พื้นที่ให้บริการต้องมีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ และไม่มีกลิ่นอับทึบ
5.2.6 บริเวณให้บริการเฉพาะบุคคลต้องไม่มิดชิดหรือลับตาจนเกินไป
5.2.7 มีการจัดการขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสียที่เหมาะสม
5.2.8 มีระบบการควบคุมพาหะนําโรคตามหลักสุขาภิบาล
5.2.9 การตกแต่งสถานที่ต้องไม่ทําให้เสื่อมเสียศีลธรรม หรือขัดต่อวัฒนธรรมและประเพณีอันดี
5.2.10 จัดเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่
5.2.11 ต้องจัดให้มีห้องส้วม อ่างล้างมือ ห้องผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้าและตู้เก็บเสื้อผ้าที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย เพียงพอ และต้องแยกส่วนสำหรับชายหญิง รวมทั้งจัดให้มีห้องอาบน้ำด้วยก็ได้
5.3 ด้านความปลอดภัย
5.3.1 มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่พร้อมใช้งาน
5.3.2 มีป้ายหรือข้อความเตือนผู้รับบริการให้ระมัดระวังอันตรายบริเวณที่เสี่ยง
5.3.3 มีการทําความสะอาดอุปกรณ์ และเครื่องมือทุกชนิดอย่างถูกสุขลักษณะหลังการใช้งาน
5.3.4 หากมีบริการที่ใกล้ชิดกับใบหน้าผู้รับบริการ ผู้ให้บริการต้องใส่หน้ากากอนามัย
5.3.5 มีระบบการเก็บและป้องกันการติดเชื้อจากขยะมูลฝอยที่ถูกสุขลักษณะและมีการควบคุมการติดเชื้อหรือการแพร่กระจายของเชื้อโรค
5.3.6 มีระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้และติดตั้งเครื่องดับเพลิง ณ บริเวณเข้าออกหลัก อย่างน้อย 1 เครื่อง
5.3.7 การบริการเกี่ยวกับการอบไอน้ำ อบซาวน่า อ่างน้ำวน บ่อน้ำร้อนหรือน้ำเย็น ตลอดจนอุปกรณ์หรือบริการอื่นใดที่มีการใช้ความร้อนหรือความเย็น ต้องจัดให้มีผู้ให้บริการที่มีความรู้ ความเข้าใจและความชํานาญรับผิดชอบตรวจตราดูแลการใช้อุปกรณ์ มีนาฬิกาในตําแหน่งที่ผู้รับบริการสามารถมองเห็นและอ่านเวลาได้ชัดเจน มีระบบฉุกเฉินที่สามารถหยุดการทํางานของอุปกรณ์ได้ มีเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติหรือเครื่องตั้งเวลา
5.3.8 ระมัดระวังมิให้ผู้รับบริการที่มีความเสี่ยงจากอายุหรือภาวะโรคประจำตัวมาใช้บริการซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในกรณีร้านนวด หรือในกรณีสปามีระบบคัดกรองผู้รับบริการที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเข้าใช้บริการในบางกรณีโดยห้ามสตรีมีครรภ์ ผู้ใช้ยาบางประเภทที่อาจเกิดปัญหาได้ ผู้ดื่มสุราของมึนเมาผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวาน หรือผู้ป่วยโรคหัวใจ เข้าใช้อุปกรณ์หรือบริการที่มีเสี่ยงต่อภาวะนั้น
5.4 ด้านการให้บริการ
5.4.1 การบริการต้องไม่ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ กฎหมายเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ และการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยสถานบริการหรือกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
5.4.2 ต้องแสดงรายการการให้บริการและอัตราค่าบริการไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ง่ายหรือตรวจสอบได้ และไม่จัดให้มีบริการอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
5.4.3 มีเครื่องแบบสําหรับผู้ให้บริการที่สะอาด สุภาพ รัดกุมและมีป้ายชื่อผู้ให้บริการติดบริเวณหน้าอก
5.4.4 กําหนดเวลาเปิดและปิดของสถานประกอบการเพื่อสุขภาพตามที่กฎหมายกําหนด
5.4.5 ทะเบียนประวัติผู้รับบริการ
สถานที่ยื่นคำขอ
ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นที่ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
ในต่างจังหวัด ยื่นที่ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด
อายุใบอนุญาต
ใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อสุขภาพประเภทร้านสปา และร้านนวดมีอายุ 5 ปี
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
ค่าธรรมเนียมประกอบกิจการเพื่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้
1. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา
– พื้นที่การให้บริการไม่เกิน 100 ตารางเมตร ฉบับละ 1,000 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 100 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ฉบับละ 3,000 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 6,000 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 10,000 บาท
2. ใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม
– พื้นที่การให้บริการไม่เกิน 100 ตารางเมตร ฉบับละ 500 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 100 ตารางเมตรแต่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร ฉบับละ 1,500 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 200 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 3,000 บาท
– พื้นที่การให้บริการเกิน 400 ตารางเมตร ฉบับละ 5,000 บาท
3. ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีสําหรับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา ปีละ 1,000 บาท ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีสําหรับสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงามปีละ 500 บาท
4. ผู้ประกอบการต้องชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีในปีแรก พร้อมกับการชําระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต โดยถือว่าวันที่ชําระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นวันครบกําหนดชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ และให้ชำระรายปีในปีต่อ ๆ ไปตลอดระยะเวลาที่ยังประกอบกิจการอยู่
หน้าที่ภายหลังได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการร้านสปา หรือร้านนวด
- ต้องประกอบกิจการให้ตรงตามประเภท
- แสดงใบอนุญาตและแสดงหลักฐานการชําระค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีไว้ในที่เปิดเผยและมองเห็นได้ชัดเจน ณ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพนั้น
- ผู้ดำเนินการที่ประจำอยู่ แสดงชื่อในที่เปิดเผย
- จัดทำทะเบียนประวัติผู้ดำเนินการ และผู้ให้บริการ
- รักษามาตรฐาน
- รับผู้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการเท่านั้นเข้าทำงาน
- ไม่โฆษณา โดยใช้ข้อความเป็นเท็จ โอ้อวด ว่าสามารถบำบัดรักษา หรือป้องกันโรคได้ โฆษณาให้เกิดความเข้าใจผิด ส่อลามก
- ควบคุมมิให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่บริเวณใก้ลเคียง
- ห้ามมิให้แสดงเพื่อให้เลือกผู้ให้บริการ
- ควบคุมมิให้ค้าประเวณี หรือมีบริการที่ขัดต่อกฎหมาย
- ห้ามมิให้มีการจำหน่าย เสพแอลกอฮอล์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ
- ห้ามให้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
- ห้ามให้ผู้ครองสติไม่ได้เข้าสถานประกอบการ
- ห้ามให้นำอาวุธเข้าสถานประกอบการ
สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องระวัง ในเรื่องใบอนุญาต เนื่องจากมีบทกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบการโดยถ้าผู้ประกอบการใช้ชื่อสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ได้แก่กิจการสปา และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงามโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษปรับไม่เกิน 40,000 บาท ในกรณีที่ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท
ทีมงานคุณภาพพร้อมให้บริการ รับจดทะเบียนบริษัท
ขอใบอนุญาตร้านสปา
การขอใบอนุญาตร้านสปานั้นจะต้องเป็นธุรกิจบริการที่ดูแลสุขภาพของลูกค้าโดยวิธีการบำบัดด้วยน้ำ หรือ นวดร่างกาย ซึ่งสปาจะแบ่งออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
- Destination Spa สปาที่ให้บริการด้านนี้โดยเฉพาะ มีห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวกกับลูกค้า อย่างเช่น โปรแกรมดูแลสุขภาพจิตทำสมาธิ ช่วยคลายความเคลียด เป็นต้น
- Hotel Spa ให้บริการสปาที่ตั้งอยู่ภายในโรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการห้องพักของที่พักนั้นๆ
- Day Spa สถานที่ให้บริการสปาที่รวดเร็ว ร้านส่วนใหญ่เปิดให้บริการบริเวณตัวเมือง บริการประเภทนวดเสริมความงาม น้ำมันหอมระเหยเพื่อผ่อนคลายความเครียด
- Medical Spa สปาที่มีการบำบัดควบคู่กับทางการแพทย์ สถานบริการสปาประเภทนี้จะตั้งอยู่ในสถานพยาบาล
- Mineral Spring Spa สปาที่มีลักษณะเป็นบ่อน้ำพุ หรือ บ่อน้ำร้อนแช่เพื่อสุขภาพ บ่อน้ำพุกับบ่อน้ำร้อนจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ
- Club Spa สถานบริการด้านสปาที่มีเครื่องออกกำลังกายหรือกิจกรรมออกกำลังกายให้บริการกับลูกค้าด้วย
- Cruise Ship Spa สปาที่ตั้งอยู่บนเรือ และมีกิจกรรมให้ออกกำลังกาย พร้อมกับอาหารเพื่อสุขภาพ ผู้ใช้บริการจะได้ความรู้สึกผ่อนคลายในการเดินทาง
ขอใบอนุญาตร้านนวด
การขอใบอนุญาตร้านนวด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การนวดเพื่อสุขภาพ กับ การนวดเพื่อเสริมความงาม ซึ่งการนวดเพื่อสุขภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ลูกค้าที่มาใช้บริการรู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด ความเมื่อยล้ากล้ามเนื้อ โดยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การนวดแผนไทย การบีบจับ กดคลึง แต่ร้านนวดประเภทนี้ต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำให้บริการกับลูกค้า ส่วนการนวดเพื่อเสริมความงามนั้นจะตั้งอยู่ในร้านเสริมสวย ร้านแต่งผม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความงาม และต้องไม่มีสถานที่อาบน้ำ
รับจดทะเบียนร้านนวด ร้านสปา
บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด ให้บริการรับจดทะเบียนร้านนวด รับจดทะเบียนร้านสปา ทุกประเภท โดยทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านการขอใบอนุญาตโดยเฉพาะ สามารถให้รายละเอียดลูกค้าได้อย่างครบถ้วน ในราคาที่สมเหตุสมผล สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร : 02 210 0281 หรือ LINE ID: @greenproksp หรือติดต่อได้ตามรายระเอียดด้านล่างได้เช่นกัน
ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร: 085-067-4884
LINE ID: @greenproksp
E-mail: info.th@greenproksp.com