ขอใบอนุญาตร้านอาหาร ในการประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการเปิดร้านอาหาร การประกอบธุรกิจร้านค้าที่มีการจำหน่ายอาหาร ซึ่งไม่ใช่เป็นการขายของในตลาด หรือการจำหน่ายอาหารในที่ หรือทางสาธารณะ
นอกจากผู้ประกอบการต้องจัดเตรียมเรื่อง รายการอาหาร ผู้ประกอบอาหาร การตกแต่งร้าน การวางระบบการบริหารจัดการภายในร้าน และการบริการภายในร้านแล้ว มีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงในการประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหารก็คือการขอใบอนุญาตร้านอาหาร (ในทางกฎหมายเรียกว่าใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือ หนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร)
โดยผู้ประกอบการต้องทำการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ ซึ่งสามารถแบ่งการขอรับใบอนุญาตออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ในกรณีสถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร จะต้องยื่นเรื่องขอรับใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร)
2. ในกรณีที่สถานที่จำหน่ายอาหาร ที่มีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร จะต้องยื่นเรื่องขอหนังสือรับรองการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร (ใบอนุญาตร้านอาหาร/ใบอนุญาตขายอาหาร)
ความหมายสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร
“สถานที่จำหน่ายอาหาร” คือ อาคาร สถานที่หรือบริเวณใด ๆ ที่ไม่ใช่ทางสาธารณะจัดไว้เพื่อประกอบอาหารหรือปรุงอาหารจนสำเร็จ และจำหน่ายให้ผู้ซื้อสามารถบริโภคได้ทันที ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการจำหน่ายโดยจัดให้มีบริเวณไว้สำหรับการบริโภค ณ ที่นั้น หรือนำไปบริโภคที่อื่นก็ตาม
“สถานที่สะสมอาหาร” คือ อาคาร สถานที่หรือบริเวณใดๆ ที่ไม่ใช่ทางสาธารณะที่จัดไว้สำหรับเก็บอาหาร อันมีสภาพเป็นของสด หรือของแห้ง หรืออาหารในรูปลักษณะอื่น ๆ ซึ่งผู้ซื้อต้องนำไปทำ ประกอบ หรือปรุงเพื่อบริโภคในภายหลัง
รายละเอียดการขอใบอนุญาตร้านอาหาร
- กรณีพื้นที่เกิน 200 เมตร คือใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร
- กรณีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร คือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร) ก่อนดำเนินการขอใบอนุญาตขายอาหารดังนี้
- ผู้ประกอบการต้องทราบว่าร้านอาหาร หรือสถานที่จำหน่ายอาหาร มีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตรหรือไม่ ตามที่กล่าวไว้ในขั้นต้น
- การจดทะเบียนร้านอาหาร สามารถยื่นขอได้ทั้งในรูปบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งนี้ในการขอในรูปบุคคลธรรมดาในบางสำนักงานเขตพื้นที่ผู้ประกอบการอาจต้องมีการจดทะเบียนพานิชย์ หรือที่เรียกว่าจดทะเบียนการค้า ก่อนที่จะไปยื่นเรื่องขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร
โดยมีวัตถุประสงค์ในการจดทะเบียนพานิชย์ว่าเป็นการประกอบกิจการร้านอาหาร หรือจำหน่ายอาหาร ซึ่งสำเนาใบทะเบียนพานิชย์จะเป็นเอกสารประกอบในการขอใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหารในกรณีบุคคลธรรมดา
สำหรับผู้ประกอบการที่ขอใบอนุญาตในนามนิติบุคคล หนังสือรับรองนิติบุคคลต้องระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจต้องเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายอาหาร หรือประกอบธุรกิจร้านอาหาร หรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจร้านอาหารโดยมีการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่ม โดยที่เครื่องดื่มที่จำหน่ายนั้นเป็นเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์เช่นสุรา เบียร์ และ ไวน์ เครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องมีการขอใบอนุญาตขายสุรากับกรมสรรพสามิตร ในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่เพิ่มเติมนอกจากใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารและสะสมอาหาร - สถานที่ยื่นขอรับใบอนุญาตร้านอาหาร ในกรณีที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักงานเขตที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ส่วนในกรณีที่สถานประกอบการตั้งอยู่ในต่างจังหวัดต้องยื่นขอใบอนุญาตที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมเสียค่าธรรมเนียม ซึ่งค่าธรรมเนียมนั้นคำนวณตามขนาดพื้นที่สถานประกอบการดังนี้
ค่าธรรมเนียมในการขอใบอนุญาตร้านอาหาร
การขอรับใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหารในกรณีมีพื้นที่เกิน 200 ตารางเมตร
- พื้นที่ขนาดไม่เกิน 300 ตรม. ค่าธรรมเนียม 2,800 บาท
- พื้นที่ขนาดเกิน 300 ตารางเมตร คิดเพิ่มตารางเมตรละ 1 บาท โดยให้คิดพื้นที่เป็นจำนวนเต็มปัดเศษทิ้งแต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 4,800 บาท
การขอหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารในกรณีมีพื้นที่ไม่เกิน 200 ตารางเมตร
- พื้นที่ขนาดไม่เกิน 10 ตรม. ค่าธรรมเนียม 200 บาท
- พื้นที่ขนาดเกิน 10 ตารางเมตร คิดเพิ่มตารางเมตรละ 10 บาท โดยให้คิดพื้นที่เป็นจำนวนเต็มปัดเศษทิ้งแต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 1,500 บาท
4. ใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารมีอายุ 1ปี นับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
หน้าที่หลังได้รับใบอนุญาตร้านอาหาร
- ผู้จัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือสถานที่สะสมอาหาร ต้องจัดสถานที่ให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะและเงื่อนไขตามลักษณะของกิจการ
- ต้องแสดงใบรับอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งไว้โดยเปิดเผยและเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบกิจการตลอดเวลาที่ประกอบกิจการ
- ต้องยื่นเรื่องขอต่ออายุใบอนุญาตสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารพร้อมเสียค่าธรรมเนียมภายใน 90 วันก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ หากยื่นคำขอต่อใบอนุญาตเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม
- กรณีเลิกกิจการ ที่ไม่ประสงค์จะประกอบกิจการต่อไปให้ยื่นคำขอเลิกการดำเนินกิจการต่อเจ้าพนักงาน
- หากผู้ประกอบการต้องการแก้ไขรายการในใบอนุญาตร้านอาหารให้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อแก้ไขรายการในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้ง
- หากใบอนุญาตร้านอาหาร สูญหายถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ จะต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 50 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย
โดยต้องมีเอกสารแจ้งความต่อสถานีตำรวจในกรณีสูญหาย ในกรณีถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญต้องมีใบอนุญาต หรือหนังสือรับรองการแจ้งฉบับเดิมมาแสดง โดยใบแทนมีอายุเท่ากับเวลาเหลือของใบอนุญาตฉบับเดิม
ตามบทความที่กล่าวมาข้างต้น การขอใบอนุญาต หรือ จดทะเบียน นั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการประกอบธุรกิจจำหน่ายอาหาร หรือร้านอาหาร กรีนโปร เคเอสพี มีทีมงานที่มีประสบการณ์ในการยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร หรือหนังสือรับรองการแจ้งการจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร และใบอนุญาตขายสุราในกรณีที่ร้านค้ามีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแม้แต่การยื่นขอจดทะเบียนพานิชย์ และจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อประกอบกิจการร้านอาหาร ให้แก่ท่าน เพื่อให้การประกอบธุรกิจของท่านเป็นไปตามวัตถุประสงค์และถูกต้องตามกฎหมาย
สนใจบริการ รับขอใบอนุญาตร้านอาหาร ปรึกษาเราได้ฟรี!
ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799, 084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com