ข้อมูลที่ใช้จดทะเบียน หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

ข้อมูลที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องทราบในการจดทะเบียน หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด)

   ข้อมูลใช้จดทะเบียน หจก.  ที่ผู้ประกอบการต้องทราบในการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้ดียิ่งขึ้น มีอะไรบ้าง

ก่อนที่ กรีนโปร เคเอสพี จะกล่าวถึงข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทราบในการวางแผนเพื่อจดทะเบียน หจก. เรามาทราบถึงความหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงนิติบุคคลในรูปแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดได้ดียิ่งขึ้น โดยสรุปได้ดังนี้

นิยามตามกฎหมายของห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นเป็นรูปแบบของนิติบุคคลที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ตกลงที่จะเป็นหุ้นส่วนกันเพื่อร่วมทำกิจการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรมาแบ่งปันกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้น โดยทั้งนี้ต้องมีหุ้นส่วน 2 ประเภท และมีประเภทละอย่างน้อย 1 คนดังนี้
1. หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบไม่เกินจำนวนเงินที่ตนลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น
2. หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบ เป็นหุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้มีอำนาจในการบริหารห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือเรียกว่าหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบเมื่อทราบถึงนิยามของห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้ว ต่อไปเรามาทราบถึงข้อมูลสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องทราบในการจดทะเบียน หจก. ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้

1.ชื่อของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด

ลูกค้าต้องนึกชื่อ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องการจะจดทะเบียน ทั้งนี้ชื่อของห้างหุ้นส่วนจำกัด จะต้องมีชื่อทั้งที่เป็นชื่อภาษาไทย และชื่อภาษาอังกฤษ โดยลูกค้าสามารถส่งชื่อให้ กรีนโปร เคเอสพี ผ่านทางไลน์ ทางเราจะดำเนินการจองชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ผ่านระบบออนไลน์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยถ้าหากว่าชื่อที่ลูกค้าส่งมาให้ทาง กรีนโปร เคเอสพี จองนั้นไปซ้ำกับชื่อของผู้อื่นที่จดทะเบียนไปแล้ว ทางระบบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ก็จะไม่อนุมัติชื่อที่จอง ลูกค้าต้องหาชื่อใหม่ ดังนั้นลูกค้าควรนึกชื่อ สำรองไว้สัก 2-3 ชื่อ

2.ที่ตั้งกิจการ

ในการจดทะเบียน หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ต้องมีสถานที่ตั้งห้างหจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) เพื่อจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ที่จะจดทะเบียนอาจจะมีสถานที่ตั้งที่เดียวที่เป็นสำนักงานใหญ่ หรืออาจมีสำนักงานสาขาของ หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ด้วยก็ได้ ซึ่งถ้ามีสำนักงานสาขาของหจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ก็ต้องจดแจ้งกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าด้วยในตอนจดทะเบียน หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) นั้นด้วย ซึ่งต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านที่ตั้งของ หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ทั้งสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี)

3.อีเมล์ เบอร์โทรศัพท์ และเว็บไซต์ของห้างหุ้นส่วน

  ในการจดทะเบียน หจก. จำเป็นต้องมีอีเมล์แอดเดรส และเบอร์โทรศัพท์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด (ในกรณีที่ไม่มีเบอร์บ้าน สามารถใช้เบอร์มือถือแทนได้) ส่วนเว็บไซต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จะจดทะเบียน ถ้าผู้ประกอบการมีเว็บไซต์ ก็แจ้ง URL ของ เว็บไซต์ ยกตัวอย่างเช่น www.greenprokspforsme.com แต่ถ้าในตอนจดทะเบียน หจก. นั้น ผู้ประกอบการยังไม่มีเว็บไซต์ ก็ไม่จำเป็นต้องระบุ เนื่องจากกฎหมายไม่ได้บังคับ

4.ทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด

ให้ลูกค้าระบุทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยทุนที่ระบุนี้ก็คือทุนที่จะนำมาใช้เพื่อดำเนินกิจการห้างหุ้นส่วน โดยผู้ประกอบการต้องประมาณการว่าในการดำเนินธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะจดทะเบียนขึ้นมานั้นต้องการใช้เงินทุนเท่าไร และตกลงกันระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันว่าแต่ละคนจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น ถ้ากำหนดว่าทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะจัดตั้งมีจำนวน 500,000 บาท โดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คนคือนายเอ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ลงทุน 300,000 บาท
และนายบี หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ลงทุน 200,000 บาททุนของ หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) 500,000 บาทตามข้อมูลด้านบนนี้เมื่อจดทะเบียน หจก. แล้ว ผู้ประกอบการต้องไปเปิดบัญชีธนาคารและนำเงินลงทุนฝากเข้าบัญชีธนาคารของห้างหุ้นส่วนโดยเงินทุนในบัญชีธนาคารของห้างหุ้นจำกัดส่วนนี้คือทุนที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจของห้างหุ้นส่วนสามารถเบิกถอนมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการของห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนได้ ยกตัวอย่างเช่น ค่าเช่าออฟฟิศ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ เงินดือน พนักงาน ค่าซื้อสินค้าเพื่อจำหน่าย หรือแม้กระทั่งค่าเดินทางในธุรกิจของห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้น โดยค่าใช้จ่ายของห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นนี้ต้องมีใบเสร็จเป็นชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดมาใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชีเมื่อมีการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปเงินที่ชำระทุนที่นำเข้าฝากบัญชีธนาคารของห้างหุ้นส่วนนั้นสามารถทะยอยนำฝากเข้าบัญชีธนาคารได้ แต่ทั้งนี้ ต้องนำเข้าก่อนปิดบัญชีรอบแรกของห้างหุ้นส่วนจำกัด (กฏหมายกำหนดว่าห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องปิดบัญชี รอบแรกภายใน 12 เดือน นับจากจดจัดตั้ง และต้องปิดบัญชีในวันนั้นทุกๆปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะนิยมปิดบัญชี วันที่ 31 ธันวาคม เป็นรอบปกติ เพราะในงบการเงินผู้ประกอบการจะเห็นว่าทำธุรกิจมา 1ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคมนั้น มีรายได้เท่าไร มีค่าใช้จ่ายเท่าไร มีผลกำไรสุทธิ หรือขาดทุนสุทธิเท่าไร ซึ่งถ้ามีผลกำไร ตัวเลขผลกำไรสุทธิจะนำมาคำนวณภาษีนิติบุคคล แต่ถ้าผลประกอบการขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษี

เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น ที่ปรึกษาขอยกตัวอย่างดังนี้

  ผู้ประกอบการจดทะเบียน หจก.  ในวันที่ 1 มิถุนายน 2562 กฏหมายกำหนดไว้ว่าผู้ประกอบการต้องปิดบัญชีรอบแรกภายใน 12 เดือนนับจากจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังนั้นผู้ประกอบการสามารถปิดบัญชีรอบแรกได้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 แต่ด้วยผู้ประกอบการอื่นๆส่วนใหญ่จะปิดงบการเงินในวันที่ 31 ธันวาคม ซึ่งผู้ประกอบการก็สามารถปิดบัญชีภายใน 31 ธันวาคม 2562 ได้ โดยในรอบแรก งบการเงินจะแสดงผลประกอบการตั้งแต่จัดตั้งคือ 1 มิถุนายน ถึง 31 ธันวาคม 2562 เป็นจำนวนแค่ 7 เดือน แต่ในปีต่อๆไป งบการเงินของกิจการจะแสดงผลประกอบการเต็ม 12 เดือนตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของทุกปีมีข้อที่ผู้ประกอบการควรทราบ ระหว่างทุนของห้างหุ้นส่วนจำกัด และรายได้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ทุนของห้างหุ้นส่วนก็คือทุนส่วนที่ผู้ถือหุ้นที่นำมาลงทุนในห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจการ ส่วนรายได้ที่ได้จากการขายสินค้าและบริการ โดยลูกค้าของผู้ประกอบการโอนเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ เงินจำนวนนี้ไม่ได้ถือเป็นทุนห้างหุ้นส่วนจำกัด จะนำมานับเป็นทุนของ ห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ได้

5.ข้อมูลผู้เป็นหุ้นส่วนต้องมีอย่างน้อย 2 คน

ตามนิยามของห้างหุ้นส่วน ในการจดทะเบียน หจก. กฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน โดยเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดอย่างน้อย 1 คน และเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดอย่างน้อย 1 คน โดยต้องมีข้อมูล
ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้ง 2 ประเภทดังนี้
– ชี่อ-นามสกุลของผู้เป็นหุ้นส่วน
– อาชีพของผู้ถือหุ้น
– เบอร์โทรของผู้ถือหุ้น
– เงินลงทุนที่ผู้ถือหุ้น แต่ละคนลงทุนใน ห้างหุ้นส่วนจำกัด

6.รายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ

  ในการจดทะเบียน หจก.  กฎหมายกำหนดว่าต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการอย่างน้อย 1 ท่าน ทำหน้าที่บริหารงาน กิจการห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น นั่นคือจะมี 1 ท่าน หรือ 2 ท่าน หรือ 3 ท่าน หรือมากกว่าก็ได้ โดยหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นจะต้องเป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นและในทางกลับกันก็คือหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบก็จะต้องเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่สามารถกำหนดเงื่อนไขผู้มีอำนาจในการลงนามในธุรกรรมซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายกับ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะจดทะเบียนจัดตั้งได้ ว่าใครเป็นผู้มีอำนาจลงนามอย่างไร

โดยเงื่อนไขการลงนามของหุ้นส่วนผู้จัดการ

ในการจดทะเบียน หจก.  ผู้ประกอบการสามารถกำหนดเงื่อนไขการลงนามของหุ้นส่วนผู้จัดการได้หลายรูปแบบ ตามที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะจดทะเบียนตกลงกัน
ยกตัวอย่างเช่น ห้างหุ้นส่วน เอบีซีดี จำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภทดังนี้
1. หุ้นส่วนจำกัดความรับผิด 2 คน คือ นายเอ และนายบี
2. หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด 2 คน คือนายซี และนายดี

มีหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คน ดังนั้นอาจกำหนดเงื่อนไขการลงนามของหุ้นส่วน
ผู้จัดการได้ดังนี้
– หุ้นส่วนผู้จัดการ 1 คนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด (นั่นคือมีหุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คน คือนายซี และนายดี คนใดคนหนึ่งก็สามารถลงนามทำธุรกรรมซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายกับบริษัทได้โดยลำพัง)
– หุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท (นั่นคือมีหุ้นส่วนผู้จัดการ 2 คน คือนายซี และนายดี และหุ้นส่วนผู้จัดการทั้งสองคน คือนายซี และนายดี ต้องลงนามร่วมกันในการทำธุรกรรม จึงจะมีผลผูกพันทางกฎหมายกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จะจัดตั้ง
– หรืออาจจะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการท่านเดียว ยกตัวอย่างหุ้นส่วนทุกคน มอบหมายให้นายซี เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการท่านเดียวทีมีอำนาจในการลงนาม เงื่อนไขการลงนามจึงเป็น นายซีลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด กล่าวคือนายซีเป็นผู้เดียวที่สามารถลงนามทำธุรกรรมซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่จะจดทะเบียนได้

7.วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด เพื่อทำธุรกิจ

  ทางผู้ประกอบการต้องคิดว่าจุดประสงค์ที่จะจดทะเบียนจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัด นี้ขึ้นมานั้น มีจุดประสงค์เพื่อจะทำธุรกิจอะไร ผู้ประกอบการก็สามารถเขียนวัตถุประสงค์ที่ต้องการทำได้เลย โดยทั้งนี้ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่จะจดทะเบียนสามารถดำเนินธุรกิจได้หลายวัตถุประสงค์ เบื้องต้นทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้านั้นมีวัตถุประสงค์มาตรฐานอยู่แล้ว คือ แบบ ว.1 เป็นธุรกิจ พานิชยกรรม แบบ ว.2 เป็นธุรกิจบริการ ซึ่งทางที่ปรึกษาจะเลือกแบบวัตถุประสงค์มาตรฐานที่ตรงกับธุรกิจลูกค้ามากที่สุด แต่ทั้งนี้ถ้าวัตถุประสงค์ของลูกค้าไม่ตรงและไม่มีในแบบ ว. มาตรฐานของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทางที่ปรึกษาจะเขียนวัตถุประสงค์เพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าตามกิจการนั้นๆ ที่ลูกค้าต้องการทำ

กรีนโปร เคเอสพี ได้อธิบายข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญที่ใช้ในการจดทะเบียน หจก. ซึ่งน่าจะทำให้
ผู้ประกอบการหรือผู้สนใจที่จะจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด นั้นเข้าใจได้มากขึ้น แต่ถ้าท่านผู้ประกอบการยังมีข้อสงสัยและต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง ผู้ให้บริการรับจดทะเบียน หจก. บริษัทจำกัด โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญ เรายินดีให้คำปรึกษาและรับจดทะเบียน หจก.  และบริษัทจำกัด เราสามารถช่วยให้การจดทะเบียน หจก.และบริษัทจำกัด ของท่านเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และรวดเร็ว ด้วยราคาที่ย่อมเยา


สนใจบริการรับขอใบอนุญาต

ติดต่อ: บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 ถ. สาทรใต้ แขวง ยานนาวา เขต สาทร กรุงเทพมหานคร 10120
โทร : 02 210 0281, 02 210 0282
มือถือ : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp
E-mail : info.th@greenproksp.com