ถูกสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลังควรเตรียมตัวอย่างไร?

เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลัง

กรมสรรพากร จะมีสิทธิตรวจสอบภาษีย้อนหลังได้ 2 ปี และถ้าพบความผิดปกติ หรือ เข้าข่ายว่าจะเลี่ยงภาษีมีสิทธิตรวจสอบย้อนหลังได้ 5 ปี สำหรับกรณีที่เคยยื่นแบบภาษี หรือง่าย ๆ มนุษย์เงินเดือน สรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 10 ปี นอกจากนี้กรมสรรพากรมีสิทธิเรียกดูรายการเดินบัญชี (Statement)

หากสรรพากรเชิญผู้ประกอบการไปพบเพราะอาจจะเห็นข้อมูลบางอย่างที่มีความผิดปกติเข้าข่ายทำให้กรมสรรพากรสงสัยและเริ่มตรวจสอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ด้วยเหตุผลที่ว่า

  • ภาษีถูกหักที่มีการนำส่งไปแล้ว
  • ธนาคารส่งข้อมูลเรื่องรายได้ให้สรรพากร
  • มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี และ จำนวนเงิน (นับเฉพาะฝั่งเงินรับฝากเข้า) รวมเกิน 2 ล้านบาท หรือมีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไหร่

ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้สรรพากรมีเซนต้าเบสท์ในการตรวจสอบธุรกิจของท่านได้

สรรพากรรับรู้รายได้ยังไง? ช่องทางไหนที่ใช้ตรวจสอบการเงิน?

  • มีเงินโอนเข้าบัญชีหลายครั้ง และเป็นเงินจำนวนมาก
  • ข้อมูลการรับเงิน (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ใบกำกับภาษี)
  • รับรู้รายได้ผ่านช่องทาง www.rd.go.th
  • Web Scraping เทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บไซต์
  • ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
  • เข้าร่วมโครงการของรัฐ
  • สุ่มตรวจ
  • พนักงานประจำ

หากโดนสรรพากรสงสัยว่าต้องจ่ายภาษีย้อนหลังควรทำอย่างไร?

ดูรายละเอียดการตรวจสอบภาษีย้อนหลัง

ดูจดหมายที่สรรพากรส่งมาว่าขอตรวจสอบภาษีย้อนหลังกี่ปี? จากนั้นเช็ค Statement ทุกบัญชีโดยเฉพาะรายได้ของแต่ละปีว่ามีรายได้ทั้งหมดเท่าไหร่? เงินที่เข้าบัญชีที่เป็นส่วนของรายได้เท่าไหร่? เพื่อนำไปแสดงกับกรมสรรพากร (หากเป็นรายการเงินโอนระหว่างกันหรือเป็นการกู้ยืมให้นำออกก่อน)

ทำตาราง Excel รายได้แต่ละบัญชี ตั้งแต่ต้นปี – สิ้นปี และแยกตัวเลขอย่างชัดเจนพอแยกตัวเลขจะเห็นว่ารายได้แต่ละปีที่ถูกตรวจสอบย้อนหลังเป็นยอดเงินเท่าไหร่? เพื่อที่จะนำมาคำนวณภาษีคร่าวๆได้

เช็คยอดเงินแต่ละปีว่าเงินเข้าเกิน 1.8 ล้านบาทหรือไม่? ถ้าปีไหนเกิน 1.8 ล้านบาทแสดงว่าต้องจดเข้า VAT

📍หลักการของภาษีมูลค่าเพิ่ม

หากรายได้ของท่าน ไม่มีภาษีซื้อมาหัก สรรพากรจะเอาตัวรายได้ตั้งต้นและคูณที่ 7% เมื่อไม่ได้เข้า VAT ตัวภาษีจะมีเรื่องของเงินเพิ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง

เงินเพิ่ม เป็นอัตราที่ 1.5% ของตัวภาษี
1.5% จะคูณตามจำนวนเดือนที่เรายังไม่ได้นำส่งภาษี เช่น ปี2562 มีรายได้ถึงจุดที่เข้าVAT แล้วแต่ปัจจุบันยังไม่ได้จดเข้าระบบภาษีและยังไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางสรรพากรจะมีการคำนวณตั้งแต่เดือนที่รายได้เริ่มถึงจุดเข้าVAT จนถึงปัจจุบัน

📍ยกตัวอย่างเช่น

ธุรกิจต้องจดเข้าระบบ VAT ตั้งแต่เดือน6 ปี2562 จนถึงปัจจุบันประมาณ 10 เดือน สรรพากรจะเอาตัวเลขภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งต้น และคูณด้วย 1.5% จากนั้นนำมาคูณจำนวนเดือนตั้งแต่ที่รายได้เริ่มถึงจุดเข้าVAT ทำให้ตัวภาษีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากว่าตัวเงินเพิ่มคูณจำนวนเดือน

ในส่วนของตัวเบี้ยปรับ คือ สรรพากรจะคูณเบี้ยปรับที่ 20% ของตัวภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง และต้องคูณ 2 เท่าเพราะไม่ได้ยื่นแบบภาษี
*** ตัวภาษีเงินต้นเลี่ยงไม่ได้ และ ตัวเงินเพิ่มก็เลี่ยงไม่ได้ต้องนำส่งตามนั้น

แสดงตัวว่าไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี

พยายามแสดงเจตจำนงเอาไว้ตลอดว่า ทางบริษัทหรือตัวเจ้าของไม่ได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี และพร้อมให้ความร่วมในการตรวจสอบอยู่เสมอ และพร้อมที่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการตลอดเวลาแม้จะโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ

ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

กรณีที่อาจจะผิดจริงหรือไม่ได้ผิดจริง ก็ควรปรึกษาผู้ที่มีความรู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีหรือกฎหมายก่อนลงนาม เพราะถ้าหากลงนามไปแล้ว อาจจะเป็นการยอมรับ สิ่งเหล่านั้นซึ่งอาจจะไม่สามารถแก้ไขได้ในอนาคต และอาจส่งผลเสียในระยะยาวมากกว่าที่คิด

ขอลดเบี้ยปรับ ขอยื่นอุทธรณ์ ผ่อนชำระ

สำหรับกรณีที่มีความผิดจริง ทางออกที่ช่วยเยียวยาได้ไม่ว่าจะเป็นการทำจดหมาย ยื่นคำร้องเพื่อขอลดเบี้ยปรับ จากเหตุผลที่ว่าไม่ได้เจตนารมณ์หลีกเลี่ยงภาษี แต่เป็นเพราะความผิดพลาด ด้านการคำนวณหรือความรู้ด้านกฎหมาย และหากคิดว่าไม่เป็นตามหลักการจริงๆ ก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกด้วย หรือท้ายที่สุดหากเบี้ยปรับเป็นจำนวนสูงและเราไม่สามารถผ่อนชำระได้ภายในครั้งเดียว อาจจะเป็นขอผ่อนชำระก็นับว่าเป็นทางออกที่ควรศึกษาไว้เช่นกัน

ถ้าไม่อยากโดนเรียกตรวจสอบภาษีย้อนหลังต้องทำยังไง ?

  • ต้องยื่นภาษีทุกปี และตรวจสอบเอกสารรายรับของธุรกิจให้ถูกต้องและครบถ้วนก่อนยื่นภาษี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาได้ในภายหลัง
  • ทำบัญชีรายเดือน เพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีรายได้ในแต่ละปี บัญชีเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม
  • ติดตามข่าวสารภาษี ตรวจสอบเงื่อนไขภาษีในแต่ละปี เพราะมักจะมีเงื่อนไขใหม่ ๆ ออกมาเสมอ และอาจเป็นประโยชน์ในเรื่องของการลดหย่อนภาษีอีกด้วย

ภาษีบุคคลธรรมดา

ภาษีบุคคลธรรมดา ผู้ประกอบการจะไม่ค่อยเก็บเอกสารไว้ ทำให้ต้องเลือกใช้ช่องของหักเหมาจ่าย 60% และ นำรายได้มาเสียภาษีอีก 40% ของฐานรายได้รวม ซึ่งทำให้ภาษีค่อนข้างจะเยอะ แต่ภาษีบุคคลธรรมดาไม่มีตัวเลือกของเบี้ยปรับ มีแค่เงินเพิ่มที่ 1.5% เท่านั้น

สรุปการถูกประเมินภาษีย้อนหลัง

  • แยกตัวเลขให้ถูกต้องและครบถ้วน
  • รวบรวมหลักฐานค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด ส่วนไหนที่สามารถนำไปเคลม VAT ก็เอาไปหักภาษีขายได้ แต่ถ้าหากไม่มีภาษีซื้อไปหัก ก็ต้องยอมรับในส่วนที่สรรพากรประเมินค่าภาษีมา

#เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะเตรียมตัวอย่างไร?

พี่เก่งได้คุยกับลูกค้าหลายๆ คนที่ผ่านมา ได้ทราบว่าทำธุรกิจมาแล้วยังไม่เคยยื่นภาษีเลย เมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลังจะเตรียมตัวอย่างไร? #รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้จากคลิปนี้ได้เลย

#ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)

ติดต่อบริการเมื่อถูกสรรพากรตรวจสอบภาษีย้อนหลัง

ติดต่อสำนักงานบัญชี บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด
ที่อยู่ 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
เวลาทำการ: จันทร์ – ศุกร์: 8.30 – 17.30 น.
แอดไลน์คลิกลิงก์: @greenprokspacc
โทร085-067-4884